ที่มา : ฝ่ายบริการวิชาการ www.siamsafety.com
เผยแพร่ครั้งที่ 1 เมื่อ : 29 เมษายน 2556

หนึ่ง
ในวิธีการที่ดีที่สุดในการทำให้แน่ใจว่าชีวิตการทำงานในแต่ละวันของคุณจะ
เป็นไปอย่างราบรื่นด้วยดีและหน้าที่การงานของคุณจะก้าวหน้าขึ้นตามลำดับนั้น
ก็คือการทำตัวให้อยู่ข้างเดียวกับเจ้านายของตัวเอง
ฟังดูน่าจะทำได้ไม่ยากใช่มั้ยล่ะครับ แต่คุณจะต้องประหลาดใจมากแน่ๆ
ถ้ารู้ว่ามีพนักงานจำนวนมากเพียงใดที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้
และ
ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ก็คือ
พนักงานเหล่านั้นมักจะพูดอะไรออกไปโดยไม่ค่อยคิดและทำสิ่งต่างๆ
ให้เจ้านายของตัวเองเห็นว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นคนที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ไม่ให้ความร่วมมือหรือดูไม่เป็นมืออาชีพเท่าที่ควร
ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เจ้านายทุกคนไม่อยากเห็นในลูกจ้างของ
ตัวเองเอาเสียเลย
คำถามก็คือ คุณอยากเป็นพนักงานในกลุ่มนั้นหรือไม่?
ถ้าไม่อยากเป็น บทความนี้จะขอแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงคำพูดหรือประโยคต่างๆ
ต่อไปนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้านายของคุณอารมณ์เสียหรือหงุดหงิดใส่คุณได้

1. “นี่ไม่ใช่ความผิดของผมนะครับ”
แม้
ว่ามันจะไม่ใช่ความผิดของคุณจริงๆ ก็ตาม
แต่การที่คุณพูดออกไปเช่นนั้นก็จะทำให้คุณถูกมองเหมือนเป็นเด็กตัวเล็กๆ
ได้เลย
สำหรับคนที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้วจะต้องมีความรับผิดชอบเสมอและจะต้องแสดงออกให้
เห็นถึงการมีส่วนร่วมในการทำให้สิ่งต่างๆ มันถูกต้องขึ้นมา
เจ้านายมักชอบลูกน้องที่เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาต่างๆ เสมอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากว่าลูกน้องคนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้น
ด้วย
2. “มันไม่ใช่หน้าที่ของผมนะครับ”
หน้าที่
รับผิดชอบของคุณนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะที่ระบุไว้ในเอกสาร Job
Description เท่านั้น
ถ้าเจ้านายของคุณขอให้คุณทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้เสร็จนั้น
สิ่งนั้นแหละคือหน้าที่ของคุณ และถ้าคุณปฏิเสธออกไป
คุณเองก็จะถูกมองว่าเป็นเด็ก
ไม่เคารพและไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้านายนั่นเอง
3. “จะต้องมีการสื่อสารอะไรบางอย่างที่ผิดพลาดแน่ๆ ครับ”
จาก
การที่ทุกบริษัททุกธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงมาก
ดังนั้นเจ้านายคงไม่สามารถเก็บรักษาพนักงานที่ทำให้บริษัทต้องสูญเสียลูกค้า
รายใหญ่หรือสัญญาสำคัญๆ
อันเกิดจากการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพของพนักงานของตนได้
เจ้า
นายแต่ละคนก็จะมีความต้องการในข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป
ดังนั้นคุณจะต้องค้นหาให้ได้ว่าเจ้านายของคุณนั้นต้องการข้อมูลแบบใดและคุณ
ก็จะต้องเป็นคนให้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการของเจ้านายตัวเองให้ได้
การเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารสิ่งต่างๆ
ได้ดีนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของบริษัท เจ้านาย
และหน้าที่การงานของพนักงานด้วย

4. “ผมเป็นพวกชอบปาร์ตี้ครับ”
ประโยค
เช่นนี้ไม่ใช่สิ่งที่ควรพูดโอ้อวดออกมาและการยอมรับว่าคุณมักชอบดื่ม
สังสรรค์เสมอในคืนวันทำงานปกตินั้นก็เป็นการแสดงให้เจ้านายของคุณเห็นว่าคุณ
ไม่ให้ความสำคัญกับการทำงานของตัวเองเท่าที่ควรจะเป็นอีกด้วย นอกจากนี้
การพูดออกมาเช่นนี้ก็ยังทำให้เจ้านายของคุณสงสัยอีกด้วยว่าคุณจะสามารถ
ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เรื่องอื่นๆ
ทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงานของคุณได้ดีเพียงใดกันนี่
5. “ผมเบื่อคนๆ นี้มากเลยครับ”
คน
ในที่นี้หมายถึงเพื่อนร่วมงานทุกคนของคุณนั่นเอง ซึ่งเจ้านายจะหงุดหงิดมากๆ
เมื่อต้องเอาเวลาที่จะทำงานสำคัญๆ
ไปใช้ในการยุติปัญหาหรือการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างพนักงานด้วยกันและเมื่อ
พนักงาน 2 คนไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งของพวกเขาได้อย่างมืออาชีพนั้น
เจ้านายเองก็ไม่อยากให้ฝ่ายบุคคลของบริษัทเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย
เจ้านายล้วนต้องการให้พนักงานมีความเคารพซึ่งกันและกันและมีความเป็นผู้ใหญ่
อยู่เสมอด้วย

6. “ผมป่วยหนักจนทำงานไม่ไหวครับ”
คำ
พูดเช่นนี้ไม่เสียหายอะไรนักถ้าหากว่ามันเป็นความจริงโดยเฉพาะถ้าหากว่าคุณ
ไม่สามารถทำงานได้จากที่บ้านและคุณป่วยเป็นโรคที่ติดต่อถึงผู้อื่นได้
แต่ถ้าคุณโกหกและเจ้านายของคุณรู้ความจริงขึ้นมา คุณเจอปัญหาใหญ่แน่ๆ
และยิ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากมายด้วย
โอกาสที่คุณจะถูกจับโกหกได้นั้นก็ยิ่งมีเพิ่มขึ้นอย่างมากเลยทีเดียว เช่น
เจ้านายของคุณอาจเห็นคุณไปอัพเดตข้อมูลใหม่ๆ อยู่ใน Facebook หรือ Twitter
หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานปากสว่างของคุณ
ก็อาจทำให้เจ้านายรู้ได้แล้วว่าวันนั้นคุณป่วยหนักจริงหรือไม่
7. พูดกับเจ้านายมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
พนักงาน
อาจไม่เคยรู้เลยว่าตนเองจะต้องสื่อสารกับเจ้านายของตัวเองอย่างไรและเมื่อไร
บ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ พนักงานเหล่านี้ก็อาจมีข้อมูลสำคัญๆ
ที่เจ้านายอยากทราบและไม่เคยได้ไปบอกให้แก่เจ้านายได้ทราบ หรือในทางกลับกัน
พนักงานบางคนก็อาจมีการสื่อสารพูดคุยกับเจ้านายของตนเองในเรื่องไร้สาระ
ต่างๆ นานาแบบไม่มีวันจบสิ้นก็ได้
8. การเรียกร้องคร่ำครวญมากเกินไป
นับ
ตั้งแต่ช่วงเศรษฐกิจขาลงเป็นต้นมานั้น พนักงานหลายๆ
คนได้ถูกร้องขอให้ทำงานมากขึ้นและได้รับค่าตอบแทนน้อยลงหรือเท่าเดิม
และพนักงานหลายๆ
คนได้ก็ติดนิสัยเรียกร้องคร่ำครวญถึงสภาพการทำงานของตนเช่นนี้แบบไม่จบไม่
สิ้น ในช่วงเวลาเช่นนี้
ทุกคนเปรียบได้กับการลงเรือลำเดียวกันและบริษัทก็ยังคงอยู่ในความเสี่ยงอยู่
ดังนั้นการที่คุณแสดงการเรียกร้องคร่ำครวญเช่นนี้ออกมาก็ยิ่งทำให้เจ้านาย
ของคุณซึ่งเหนื่อยล้ากับการนำพาธุรกิจไปข้างหน้าอยู่แล้วยิ่งหมายหัวคุณได้
ชัดเจนมากขึ้น
วิธีการแก้ไขก็คือคุณจะต้องใช้เวลาของตัวเองไปกับการคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหา
ต่างๆ ที่มีอยู่ และจำไว้ว่า ในช่วงเวลาเช่นนี้ เมื่อตำแหน่งงานใดๆ
ว่างลงก็จะมีคนต่อคิวรอสมัครเข้ามาทำงานอยู่ตลอดเวลาอย่างแน่นอนและเจ้านาย
ของคุณก็คงไม่ได้เสียดายคุณมากเท่าไรอีกด้วย

9. “ผมมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเยอะมากครับ”
เจ้า
นายของคุณไม่ได้มีหน้าที่ในการช่วยให้คุณมีเงินมากขึ้นเพื่อนำไปจ่ายค่าบัตร
เครดิต การท่องเที่ยว หรือการรับประทานอาหารนอกบ้านมื้อพิเศษต่างๆ
หากแต่เจ้านายจะจ่ายเงินเดือนให้แก่คุณอย่างยุติธรรมเหมาะสมตามผลงานของคุณ
และถ้าคุณคิดว่าคุณควรได้ปรับเงินเดือนขึ้นนั้น
คุณก็จะต้องเข้าไปหาเจ้านายพร้อมทั้งสิ่งแสดงที่ชัดเจนให้เห็นได้ว่าคุณ
สมควรได้เงินเดือนมากขึ้นและการสื่อสารที่เกิดขึ้นนี้ก็จะต้องเป็นการสื่อ
สารแบบสองทางด้วย
และไม่ได้เป็นการเรียกร้องที่เป็นไปในลักษณะของความไม่พึงพอใจของคุณ
10. “ผมจะลาออกละกันครับถ้าหากว่า....”
ห้าม
ขู่เจ้านายด้วยการบอกว่าจะลาออกเว้นแต่ว่าคุณได้เตรียมพร้อมมาแล้วที่จะลา
ออกจริงๆ ถ้าหากว่าวันหนึ่งเจ้านายของคุณทำสิ่งที่คุณกล่าวไว้ดังกล่าว
และถ้าวันนั้นมาถึง กล่าวคือ
เจ้านายของคุณทำสิ่งที่คุณกล่าวไว้และคุณก็ไม่ได้ลาออกตามที่บอกไว้
แน่นอนว่าคุณก็จะหมดความน่าเชื่อถือไปและคุณอาจตกงานเข้าจริงๆ ก็ได้
|